Accessibility Tools

ศูนย์วิเทศอาเซียน
ASEAN Cooperation Center

image

ศูนย์วิเทศอาเซียน สำนักการต่างประเทศ สำนักงานศาลยุติธรรม

อาเซียนกับการรับมือ COVID-19image

 

COVID-19 คืออะไร

COVID-19 ย่อมาจาก Coronavirus Disease ค.ศ. 2019 เป็นไวรัสในตระกูลโคโรน่าที่ก่อให้เกิดอาการปอดอักเสบ ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกับไวรัส SARS และ MERS ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม 2562 ณ เมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน และได้รับการประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563 โดยองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO)

 

การรับมือของอาเซียน
นอกเหนือจากการรับมือโดยแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนแล้ว อาเซียนได้ดำเนินการรับมือ COVID-19 ผ่านความร่วมมือของอาเซียนด้านสาธารณสุขอาเซียน (ASEAN Health Sector Cooperation) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนโยบายในการรับมือ Covid-19 ทั้งภายในและภายนอกภูมิภาค

ล่าสุด ในการประชุม ASEAN Plus Three Senior Officials Meeting on Health Development (APT SOMHD) เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ประชุมได้มีมติส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานในการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ผ่านกลไลความร่วมมือด้านสาธารณสุขของอาเซียนและประเทศอื่น ๆ นอกภูมิภาค ดังนี้
1. ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนบวกสาม ด้านการพัฒนาสาธารณสุข (ASEAN Plus Three Senior Officials Meeting for Health Development (APT SOMHD)) นำโดย กัมพูชา 
2. เครือข่ายด้านการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขอาเซียน (ASEAN Public Health Emergency Operations Centre (PHEOC) Network) นำโดย มาเลเซีย
3. เครือข่ายฝึกอบรมนักระบาดวิทยาภาคสนามอาเซียนบวกสาม (ASEAN Plus Three Field Epidemiology Training Network (ASEAN+3 FETN)) นำโดยมาเลเซียและร่วมดำเนินการโดยประเทศไทย 
4. ศูนย์จำลองภาพการแพร่กระจายทางชีวภาพอาเซียน (ASEAN BioDiaspora Virtual Centre for big data analytics and visualization (ABVC)) นำโดย ฟิลิปปินส์
5. ศูนย์ประเมินและสื่อสารความเสี่ยงอาเซียน (ASEAN Risk Assessment and Risk Communication Centre (ARARC)) นำโดย มาเลเซีย
6. เครือข่ายห้องปฏิบัติการสาธารณสุข ภายใต้ขอบเขตกลุ่มประเด็นสุขภาพอาเซียนที่ 2 การสนองตอบต่อภัยทุกชนิดและความเสี่ยงอุบัติใหม (Public health laboratories network under the purview of ASEAN Health Cluster 2 on Responding to All Hazards and Emerging Threats และ
7. เครือข่ายห้องปฏิบัติการสาธารณสุขระดับภูมิภาค (Regional Public Health Laboratories Network (RPHL)) นำโดย ประเทศไทย ผ่านวาระความมั่นคงทางสุขภาพของโลก (Global Health Security Agenda)

 

ตัวอย่างผลงานความร่วมมือในการป้องกัน ตรวจสอบ และรับมือ COVID-19 ของอาเซียน


1. การจัดตั้งเครือข่ายประสานงานระหว่างหน่วยงานผู้รับผิดชอบด้านการควบคุมโรคของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงการรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์และเว็บไซต์หน่วยงานข้างต้นของแต่ละประเทศ โดย PHEOC
2. การจัดทำระบบประเมินความเสี่ยงในการแพร่กระจายของ COVID-19 ในภูมิภาคอาเซียน โดย ABVC และการจัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment (RA) Report for International Dissemination of COVID-19) เพื่อเผยแพร่ข้อมูลสถานะปัจจุบันและความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของ COVID-19 ผ่านเส้นทางการเดินทางทางอากาศของประชาชน

 

เว็บไซต์ข้อมูลการรับมือ COVID-19 ของอาเซียน (ภาษาอังกฤษ)
https://asean.org/?static_post=updates-asean-health-sector-efforts-combat-novel-coronavirus-covid-19

เรียบเรียง ส่วนอาเซียน สำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ
ที่มา ASEAN Health Sector Efforts in the Prevention, Detection and Response to Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)

 

แหล่งที่มาของข้อมูล :
https://asean.org/?static_post=updates-asean-health-sector-efforts-combat-novel-coronavirus-covid-19